...

สำหรับสถานประกอบการ

สถานประกอบการ สามารถนำ Username & Password ที่ทางเจ้าหน้าที่
สหกิจศึกษา ส่งให้ผ่านทางอีเมล Login เข้าสู่ระบบเพื่อประเมินได้

เข้าสู่เว็บไซต์สหกิจศึกษา เพื่อประเมินผลนักศึกษาสหกิจศึกษา

รายละเอียดเกี่ยวสหกิจศึกษา

สถานประกอบการสามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสหกิจศึกษา เพิ่มเติม ที่นี่

คลิกดูข้อมูล

แบบฟอร์มสำหรับสถานประกอบการ

แบบฟอร์มต่าง ๆ ได้ปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด กรณีที่สถานประกอบการต้องการดูรายละเอียดสามารถดูได้ ที่นี่

คลิกดูข้อมูล

คุณสมบัตินักศึกษาสหกิจศึกษา

เกณฑ์คุณสมบัติสำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา ตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

คลิกดูข้อมูล

รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการ

สถานประกอบการเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้นักศึกษาสหกิจศึกษาสามารถพัฒนาทักษะต่างๆ รวมถึงองค์ความรู้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งสถานประกอบการจะต้องมีความพร้อมในด้านของบุคลากร นโยบายงบประมาณ สวัสดิการ ทรัพยากร ฯลฯ และที่สำคัญต้องมีตำแหน่งงานที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาด้วย ดังนั้น คณะวิทยาการจัดการจึงได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานประกอบการ ดังต่อไปนี้

1. บทบาทและหน้าที่ของฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์

ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการจะทำหน้าที่ประสานงานกับทางคณะเพื่อจะรับนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา รวมทั้งให้คำแนะนำการเตรียมตัวก่อนจะเข้าปฏิบัติงาน

2. บทบาทและหน้าที่พนักงานที่ปรึกษา

บุคคลที่สถานประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษา ให้คำปรึกษา ติดตาม และแนะนำการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ตลอดระยะเวลา 16 สัปดาห์ อาจจะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าส่วนงานซึ่งเป็นผู้มีความสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาสำเร็จไปได้ด้วยดี ดังนั้นพนักงานที่ปรึกษาควรมีภาระหน้าที่ ดังนี้
- กำหนดลักษณะงานและแผนงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภายในสัปดาห์แรกของการปฏิบัติงาน พนักงานที่ปรึกษา ควรจะกำหนดขอบข่ายหน้าที่ ตำแหน่งงานของนักศึกษา
สหกิจศึกษา รวมถึงแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเพื่อจะมอบหมายให้จัดทำโครงงาน
- ตรวจสอบการจัดทำรายงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาสหกิจศึกษาหลักสูตรรายวิชา
สหกิจศึกษาได้กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานโครงงานสหกิจศึกษาโดยในการจัดทำรายงานนั้น จะต้องผ่านการตรวจสอบรายงานจากพนักงานที่ปรึกษาเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการเขียนรายงานสหกิจศึกษา
- ดูแล ตรวจสอบ และให้คำแนะนำนักศึกษาในระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่

3. ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ

สถานประกอบการควรจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นักศึกษาสหกิจศึกษา หรือหากสถานประกอบการไม่มีค่าตอบแทนให้นักศึกษา สถานประกอบการอาจจะจัดให้ในรูปแบบสวัสดิการอื่นๆ แทน เช่น
- ที่พัก
- รถรับส่ง
- เครื่องแบบ
- อาหารในระหว่างการปฏิบัติงาน

4. ประโยชน์ที่สถานประกอบการได้รับ

1. เกิดความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือทางวิชาการกับสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านของการส่งเสริมสนับสนุนทางการศึกษา
2. ระบบสหกิจศึกษาเป็นวิธีการที่ช่วยคัดเลือกให้สถานประกอบการมีนักศึกษาช่วยงานและเป็นพนักงานประจำองค์กรต่อไปในอนาคต ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน
3. พนักงานประจำมีนักศึกษาช่วยงาน และสามารถทำงานที่สำคัญได้มากขึ้น
4. สถานประกอบการได้อาจารย์ที่มีคุณภาพเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ
5. สถานประกอบการได้นักศึกษาที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
6. สถานประกอบการที่รับนักศึกษาสหกิจศึกษาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยตรง (หักค่าใช้จ่าย 2 เท่า) ภายใต้กฏหมายได้แก่
6.1 มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

- ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ
- ค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่นักศึกษาสหกิจศึกษาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ไม่ตํ่ากว่าครึ่งหนึ่งของอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าสูงสุด
- ค่าสวัสดิการ เช่น เงินรางวัล ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางระหว่างจังหวัดค่าเครื่องแบบ เป็นต้น ทั้งต้องระบุรายการเหล่านี้ไว้ในแบบเสนองานสหกิจศึกษา (สก.ค 01)
- ค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและไม่รวมกับที่ใช้ในการประกอบกิจการปกติของสถานประกอบการโดยจะต้องระบุรายการ จำนวนและราคาของวัสดุอุปกรณ์นั้นให้ชัดเจน
- ค่าวิทยากรภายนอกที่จ้างมาเฉพาะเพื่อฝึกอบรมนักศึกษาสหกิจศึกษาและนอกจากนั้นสถานประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์จากทางภาษี (หักค่าใช้จ่าย 2 เท่า) ด้วยการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถานประกอบการของรัฐภายใต้กฏหมาย 2 ฉบับ ได้แก่
1. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547
2. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 476) พ.ศ. 2551